วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ไวรัสคอมพิวเตอร์

ไวรัสคอมพิวเตอร์

1. ไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมที่มีเจตนาไม่ดีต่อคอมพิวเตอร์  คืออะไร

ไวรัส คือ โปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้ และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไประบาดในระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาดิสก์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูล ไวรัสก็อาจแพร่ระบาดได้เช่นกัน
          การที่คอมพิวเตอร์ใดติดไวรัส หมายถึงว่าไวรัสได้เข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากไวรัสก็เป็นแค่โปรแกรมๆ หนึ่ง การที่ไวรัสจะเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำได้นั้นจะต้องมีการถูกเรียกให้ทำงานได้นั้น ยังขึ้นอยู่กับประเภทของไวรัสแต่ละตัว ปกติผู้ใช้มักจะไม่รู้ัตัวว่าได้ทำการปลุกคอมพิวเตอร์ไวรัสขึ้นมาทำงาน
          จุดประสงค์ของการทำงานของไวรัสแต่ละตัวขึ้นอยู่กับตัวผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น เช่น อาจสร้างไวรัสให้ไปทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลอื่นๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแสดงข้อความวิ่งไปมาบนหน้าจอ เป็นต้น 


เเหล่งที่มา
http://www.dld.go.th/ict/article/virus/v20.html

2. ไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมที่มีเจตนาไม่ดีต่อคอมพิวเตอร์  แบ่งเป็นหมวดหมู่ หรือประเภทอย่างไรบ้าง


บูตเซกเตอร์ไวรัส


          Boot Sector Viruses หรือ Boot Infector Viruses คือ ไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์ การใช้งานของบูตเซกเตอร์คือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานขึ้นมาตอนแรก เครื่องจะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็กๆไว้ใช้ในการเรียกระบบปฏิบัติการขึ้นมาทำงานอีกทีหนึ่ง บูตเซกเตอร์ไวรัสจะเข้าไปแทนที่โปรแกรมดังกล่าว และไวรัสประเภทนี้ ถ้าไปติดอยู่ในฮาร์ดดิสก์ โดยทั่วไปจะเข้าไปอยู่บริเวณที่เรียกว่า Master Boot Sector หรือ Parition Table ของฮาร์ดดิสก์นั้น ถ้าบูตเซกเตอร์ของฮาร์ดดิสก์ใดมีไวรัสประเภทนี้ติดอยู่ ทุกๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมาโดย พยายามเรียกดอสจากดิสก์นี้ ตัวโปรแกรมไวรัสจะทำงานก่อนและจะเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำเพื่อเตรียมพร้อมที่จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรมมา แล้วตัวไวรัสจึงค่อยไปเรียกดอสให้ขึ้นมาทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น


โปรแกรมไวรัส
          Program Viruses หรือ File Intector Viruses เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่งที่จะติดอยู่กับโปรแกรม ซึ่งปกติก็คือ ไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้าไปติดอยู่ในโปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น sys และโปรแกรมประเภท Overlay Programs ได้ด้วย โปรแกรมโอเวอร์เลย์ปกติจะเป็นไฟล์ีที่มีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วย OV วิธีการที่ไวรัสใช้เพื่อที่จะเข้าไปติดโปรแกรมมีอยู่ 2 วิธี คือ การแทรกตัวเข้าไปอยู่ในโปรแกรม ผลก็คือ หลังจากที่โปรแกรมนั้นติดไวรัสไปแล้ว ขนาดของโปรแกรมจะใหญ่ขึ้น หรืออาจมีการสำเนาตัวเองเข้าไปทับส่วนของโปรแกรมที่มีอยู่เดิม ดังนั้นขนาดของโปรแกรมจะไม่เปลี่ยนและยากที่จะซ่อมให้กลับเป็นดังเดิม การทำงานของไวรัสโดยทั่วไป คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัสอยู่ ตัวไวรัสจะเ้ข้าไปหาโปรแกรมตัวอื่นๆ ที่อยู่ในดิสก์เพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันทีแล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูกเรียกนั้น ทำงานตามปกติต่อไป


ม้าโทรจัน


          ม้าโทรจัน (Trojan Horse) เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็นโปรแกรมธรรมดาทั่วๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำอธิบายการใช้งานที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจ จุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจันอาจจะเช่นเดียวกับคนเขียนไวรัส คือ เข้าไปทำอันตรายต่อข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะล้วงเอาความลับของระบบคอมพิวเตอร์

          ม้าโทรจันนี้อาจจะถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดดๆ และจะไม่มีการเข้าไปติดตั้งในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการของผู้ใช้เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มีม้าโทรจันอยู่ในนั้นและนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโปรแกรมที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบและสร้างขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งอาจใช้แค่แบตซ์ไฟล์ก็สามารถโปรแกรมประเภทม้าโทรจันได้


โพลีมอร์ฟิกไวรัส
          Polymorphic Viruses เป็นชื่อที่ใช้ในการเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเองได้ เมื่อมีการสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้นซึ่งอาจได้ถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจับ โดยโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ๆในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ


สทีลต์ไวรัส
          Stealth Viruses เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อการตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรมใดแล้วจะทำให้ขนาดของโปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทีลต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริงของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากตัวไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิมทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น

เเหล่งที่มา
http://www.dld.go.th/ict/article/virus/v20.html

3. บอกรายละเอียด ลักษณะสำคัญของ ไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมที่มีเจตนาไม่ดีต่อคอมพิวเตอร์ ประเภทต่างๆ


  1. ไวรัสที่ฝังตัวอยู่ตามบูตเซ็กเตอร์ของแผ่นดิสก์และตารางพาร์ติชัน
  2. ทุกครั่งทีทำการเปิดเครื่อง ระบบจัดการของคอมพิวเตอร์จะอ่านข้อมูลจากบูตเซ็กเตอร์ และโหลดเข้าไปในหน่วยความจำก่อน เสมอ ทำให้ไวรัสประเภทนี้ถูกโหลดไปหลบซ่อนในหน่วยความจำเพื่อรจังหวะแพร่กระจายต่อไปยังแผ่นดิสก์
    ไวรัสประเภท ไม่สามารถทำลายได้โดยการเปิดเครื่องใหม่ เพราะมันจะเริ่มอยู่ในหน่วยความจำตั้งแต่เปิดเครื่อง และจะเมทำงานตลอดเวลานับจากนั้น
  3. ไวรัสที่เกาะตามไฟล์
  4. ส่วนมากจะเกาะติดไฟล์ที่มีสกุล .COM และ .EXE คือเมื่อมีการใช้งานโปรแกรม .COM .EXE ไวรัสประเภทนี้จะแยกตัวไปซ่อนอยู่ในหน่วยความจำ แล้วหาทางเกาะติดไฟล์ที่มีนามสกุลดังกล่าว ที่เก็บไว้ในแผ่นดิสก์
  5. ไวรัสที่ฝังตัวอยู่ในไฟล์ COMMAND.COM
  6. ไฟล์นี้เป็น ไฟล์ คำสั่งพื้นฐานที่มีอยู่ในระบบปฏิบัติการ เช่น เมื่อไปใช้งานในโหมด DOS Prompt แล้วไฟล์คำสั่ง COMMAND จะทำหน้าที่แปลคำสั่งนั้นให้เป็นภาษาเครื่องเข้าใจ เช่น คำสั่ง DEL,REN,DIR,COPY เป็นต้น จากการที่ไฟล์นี้ทำงานบ่อย ๆ นี่เอง ทำให้กระจายไปได้อย่างกว้างขวาง ทำลายยากกว่าไวรัสประเภทแรก
  7. ไวรัสที่แฝงตัวอยู่ในหน่วยความจำ
  8. ไวรัสประเภทนี้จะฝังติดอยู่ในหน่วยความจำ และรอจนกว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไขที่เหมาะสมของสภาพแวดล้อม ไวรัสนี้ก็จะเริ่มทำงานทันที
  9. ไวรัสประเภททำลายเฉพาะไฟล์ ไวรัสประเภทนี้เกาะติดไฟล์โปรแกรมไปเรื่อย ๆ และเมื่อพบไฟล์ที่ต้องการก็จะเริ่มทำงานไม่ว่าจะเป็นการแก้ไข การทำลาย การเคลื่อนย้าย เป็นไวรัสที่ร้ายแรงต่อเศรษฐกิจมากกว่าไวรัสประเภทอื่น ๆ กว่าจะพิสูจน์ได้ว่าติดไวรัสแล้ว ข้อมูลที่สำคัญของผู้ใช้ก็อาจหายไปหมดแล้ว
เเหล่งที่มา
http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it01/com_11.htm

4. บอกวิธีการป้องกันและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมที่มีเจตนาไม่ดีต่อคอมพิวเตอร์

การกำจัดไวรัส





เมื่อแน่ใจว่าเครื่องติดไวรัสแล้ว ให้ทำการแก้ไขด้วยความใคร่ครวญและระมัดระวังอย่างมาก เพราะบางครั้งตัวคนแก้เองจะเป็นตัวทำลายมากกว่าตัวไวรัสจริง ๆ เสียอีก  การฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ใหม่อีกครั้งก็ไม่ใช่ วิธีที่ดีที่สุดเสมอไป ยิ่งแย่ไปกว่านั้นถ้าทำไปโดยยังไม่ได้มีการสำรองข้อมูลขึ้นมาก่อน การแก้ไขนั้นถ้าผู้ใช้มีความรู้เกี่ยวกับไวรัสที่ กำลังติดอยู่ว่าเป็นประเภทใดก็จะช่วยได้อย่างมาก และข้อเสนอแนะต่อไปนี้อาจจะมีประโยชน์ต่อท่าน

เมื่อทราบว่าเครื่องติดไวรัส ให้ทำการบูตเครื่องใหม่ทันที  โดยเรียกดอสขึ้นมาทำงานจากฟลอปปีดิสก์ที่ได้เตรียมไว้ เพราะถ้าไปเรียกดอสจากฮาร์ดดิสก์ เป็นไปได้ว่า ตัวไวรัสอาจกลับเข้าไปในหน่วยความจำได้อีก เมื่อเสร็จขั้นตอนการเรียกดอสแล้ว ห้ามเรียกโปรแกรมใด ๆ ก็ตามในดิสก์ที่ติดไวรัส เพราะไม่ทราบว่าโปรแกรมใดบ้างที่มีไวรัสติดอยู่

ให้เรียกโปรแกรมตรวจจับไวรัส เพื่อตรวจสอบดูว่ามีโปรแกรมใดบ้างติดไวรัส ถ้าโปรแกรมตรวจ หาไวรัสที่ใช้อยู่สามารถกำจัดไวรัสตัวที่พบได้ ก็ให้ลองทำดู แต่ก่อนหน้านี้ให้ทำการคัดลอกเพื่อสำรองโปรแกรมที่ติดไวรัสไปเสียก่อน โดยโปรแกรมจัดการไวรัสบางโปรแกรมสามารถสั่งให้ทำสำรองโปรแกรมที่ติดไวรัสไปเป็นอีกชื่อหนึ่งก่อนที่จะกำจัดไวรัส เช่น MSAV ของดอสเอง เป็นต้น
การทำสำรองก็เพราะว่า เมื่อไวรัสถูกกำจัดออกจากฌปรแกรมไป โปรแกรมนั้นอาจไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หรือทำงานไม่ได้เลยก็เป็นไปได้ วิธีการตรวจขั้นต้นคือ ให้ลอง เปรียบเทียบขนาดของโปรแกรมหลังจากที่ถูกกำจัดไวรัสไปแล้วกับขนาดเดิม ถ้ามีขนาดน้อยกว่า แสดงว่าไม่สำเร็จ หากเป็นเช่นนั้นให้เอาโปรแกรมที่ติดไวรัสที่สำรองไว้ แล้วหาโปรแกรมจัดการ ไวรัสตัวอื่นมาใช้แทน แต่ถ้ามีขนาดมากกว่าหรือเท่ากับของเดิม เป็นไปได้ว่าการกำจัดไวรัสอาจสำเร็จ โดยอาจลองเรียกโปรแกรมตรวจหาไวรัสเพื่อทดสอบโปรแกรมอีกครั้ง
หากผลการตรวจสอบออกมาว่าปลอดเชื้อ ก็ให้ลองเรียกโปรแกรมที่ถูกกำจัดไวรัสไปนั้นขึ้นมาทดสอบการทำงานดูอย่างละเอียดว่าเป็นปกติดีอยู่หรือไม่อีกครั้ง ในช่วงดังกล่าวควรเก็บโปรแกรมนี้ที่สำรองไปขณะที่ติดไวรัสอยู่ไว้ เผื่อว่าภายหลังพบว่าโปรแกรมทำงานไม่เป็นไปตามปกติ ก็สามารถลองเรียกโปรแกรมจัดการไวรัสตัวอื่นขึ้นมากำจัดต่อไปได้ในภายหลัง แต่ถ้าแน่ใจว่าโปรแกรมทำงานเป็นปกติดี ก็ทำการลบโปรแกรมสำรองที่ยังติดไวรัสติดอยู่ทิ้งไปทันที เป็นการป้องกันไม่ให้มีการเรียกขึ้นมาใช้งานภายหลังเพราะความบังเอิญได้

http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/virus/index.html

5. ยกตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ในการป้องกัน และกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมที่มีเจตนาไม่ดีต่อคอมพิวเตอร์ ที่ได้รับความนิยม มาอย่างน้อย 5 โปรแกรม

BitDefender  Antivirus Plus 2013 ให้ความคุ้มครองความปลอดภัยเชิงรุกครอบคลุม ต่อภัยทุกภัยที่คุกคามทางอินเตอร์เน็ต พร้อมกับการบำรุงรักษาระบบและสำรองข้อมูลโดยไม่ได้ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ของคุณช้าลง
Clamwin จะเน้นการกำจัดไวรัสและสปายแวร์ (Spyware) และเวอร์ชั่นล่าสุดนี้ก็มีความสามารถในการตรวจเจอพวกมัลแวร์ (Malware) ได้มากขึ้นด้วย แต่ก็เป็นธรรมดาของทุกสรรพสิ่งในโลกที่ไม่สมบูรณ์เพียบพร้อมไปทุกอย่าง เช่นกันกับโปรแกรมกำจัดไวรัสที่ไม่มีโปรแกรมไหนจะสามารถตรวจเจอและกำจัด ไวรัสได้ทุกชนิดในโลก ดังนั้นการระวังป้องกันด้วยตัวเองจึงเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด (ดีกว่าหวังพึ่งโปรแกรมอย่างเดียว เพราะถ้ามีพฤติกรรมเสี่ยงที่จะติดไวรัสอยู่แล้ว ถึงเสียเงินซื้อโปรแกรมดีๆก็ป้องกันไวรัสได้ไม่หมด) 


Kaspersky Anti-Virus 2013  โปรแกรมป้องกันไวรัสซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ทั้งในประสิทธิภาพการทำงานของโปรแกรมและฟังก์ชั่นการทำงานที่ยอดเยี่ยมจากกลุ่มผู้ใช้ทั่วไปและเว็บไซต์ต่างๆ โปรแกรมนี้สามารถป้องกันภัยการโจมตีได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเป็นจากไวรัส แฮกเกอร์ที่พยายามเจาะเครื่องของเรา หนอนอินเตอร์เน็ท สปายแวร์หรือมัลแวร์ต่างๆ หรือภัยแฝงที่มากกับ MSN


- แสกนไฟล์หน้าเว็บไซต์ที่ท่านกำลังเปิดใช้งาน และ E-messages อย่างอัตโนมัติ

- ป้องกันการขโมยข้อมูลพื้นฐานปรับปรุง!

- รหัสสีในการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ที่ไม่ปลอดภัยใหม่!

- ปิดใช้งานในการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ที่เป็นอันตราย

- บล็อคโปรแกรมที่น่าสงสัย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของโปรแกรมนั้นๆปรับปรุง!

- ปกป้องคอมพิวเตอร์คุณจากกลุ่มแฮกเกอร์ประสงค์ร้าย

- การป้องกันตัวเองจากมัลแวร์

- ไม่ว่าเหตุการณ์ปกติหรือฉุกเฉินโปรแกรมจะป้องกันภัยเสมอ

F-Secure Anti-Virus 2010 ให้การป้องกันที่ดีกว่าจากไวรัสโดยไม่ลดความเร็วของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณลง รุ่นใหม่ออกแบบใหม่ทั้งหมดมีประสิทธิภาพดีขึ้นมากและเพิ่มการป้องกันไวรัส สปายแวร์ที่ติดเชื้อแนบ e-mail และมัลแวร์อื่นๆ.
มีการปรับปรุงอัตโนมัติและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ให้เร็วที่สุด การศึกษา Extensive ดำเนินการร่วมกับผู้ใช้ของเราได้ช่วยเราสร้างประสบการณ์ของผู้ใช้ใหม่ กำหนดมาตรฐานใหม่สำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัย. ปัญหาทั้งหมดจะได้รับการจัดการโดยไม่รบกวนผู้ใช้ คุณจะได้รับแจ้งว่าเป็นการยืนยันความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องของคุณ.

 NOD32 Antivirus 5 เป็นโปรแกรมสำหรับการป้องกันไวรัสอีกโปรแกรมหนึ่งที่ได้รับความสนใจมากมายในปัจจุบันเพราะสามารถที่จะป้องกันไวรัสได้แทบทุกชนิดและมีความสามารถในการดักจับไวรัสได้ในขณะที่เราเข้าชมเว็บไซต์ขณะทำการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต 

เเหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA

6. ดาวน์โหลด
พร้อมแสดงวิธีการติดตั้งและใช้งาน รวมทั้งวิธีการอัพเดท ให้ทันต่อไวรัส

วิธีลง nod32




วิธีการลง Nod 32 ในเครื่องขั้นแรกท่านต้องมีโปรแกรมสแกนไวรัส Nod 32 ก่อนหากยังไม่มีดาว์นโหลดได้ที่ ขั้นตอนการลง nod 32 ดับเบิ้ลไฟลที่ดาว์นโหลด






กด I accept the terms in ter license Agreement








วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเขียนเเผ่นCDเเละDVD



1. ใส่แผ่น CD แล้วเปิดโปรแกรม Nero ขึ้นมา แล้วคลิกที่ CD ข้อมูลครับ


2. จากนั้นคลิกเพิ่ม

3. หาไฟล์ที่เราต้องการเมื่อเลือกเสร็จแล้วให้คลิกเพิ่มครับ

4. คลิกถัดไป

5. คลิกเบิร์น

6. รอการเบิร์นแผ่นครับ

7. คลิกตกลงเป็นอันเสร็จเรียบร้อย



             เเหล่งที่มา

            http://computermrtheerawut.blogspot.com/2010/03/cd-nero.html



<< การคัดลอกดิสก์ด้วย Nero >>


การคัดลอกดิสก์ (ก๊อปปี้ซีดี) เป็นอีกฟังชั่นหนึ่งซึ่งสามารถจัดการได้ด้วย Nero
สำหรับการเปิดโปรแกรมขึ้นมาเพื่อใช้งาน เรียกใช้ได้โดยคลิกเรียกจาก ShortCut Nero Smart Start บน Desktop (ตามภาพ) จากนั้นคลิกเลือกที่ ทาส์กบาร์ รูปแผ่นซีดีซ้อนกัน (1) หากต้องการคัดลอกซีดี ก็ให้เลือกคำสั่งย่อย "คัดลอกดิสก์" (2) ซึ่งสามารถก๊อปปี้ออกมาเป็นแผ่นซีดี หรือเป็นอิมเมจไฟล์ก็ได้ และหากต้องการคัดลอกจากอิมเมจไฟล์มาลงแผ่นซีดี ก็ให้เลือก "เบิร์นอิมเมจไปยังดิสก์" (3) สำหรับขั้นแรก เราจะมาพูดถึงการคัดลอกแผ่นซีดี ไปสู่แผ่นซีดี และการคัดลอกแผ่นซีดี ไปเป็นอิมเมจไฟล์ก่อน ในขั้นตอนนี้ให้คลิกเลือกคำสั่งย่อย "คัดลอกดิสก์" (2)



เมื่อเลือกคำสั่งที่ต้องการแล้ว จะเข้าสู่หน้าต่าง Nero Express เพื่อทำการคัดลอกดิสก์ ซึ่งมีส่วนสำคัญๆตามภาพ

1. ไดร์ฟต้นทาง คือไดร์ฟซีดีที่เราจะใส่แผ่นต้นฉบับเพื่อทำการคัดลอก

2. ไดร์ฟปลายทาง หากมีเครื่องเขียนแผ่นซีดีมากกว่า 1 เครื่อง เราสามารถเลือกไดร์ฟต้นทางและปลายทางคนละตัวกันได้ หากต้องการเขียนเป็น "อิมเมจไฟล์" ให้เลือกที่ "Image Recorder"

3. หากเลือกไดร์ฟต้นทาง และไดร์ฟปลายทางคนล่ะตัว สามารถติ๊กเลือกตรงนี้ได้ เพื่อทำการคัดลอกจากแผ่นสู่แผ่นได้เลย โดยไม่มีการเก็บสำรองข้อมูลชั่วคราวลงบนฮาร์ดดิส

4. เลือกความเร็วในการเขียนแผ่น

5. เลือกจำนวนสำเนาว่าจะก๊อปจำนวนกี่แผ่น

6. คลิกที่ปุ่ม "เบิร์น" เพื่อเข้าสู่กระบวนการเขียนแผ่น เป็นอันสิ้นสุดการทำงาน



หากต้องการทำการคัดลอก "อิมเมจไฟล์" เพื่อเอาไว้เป็นต้นฉบับสำหรับทำการคัดลอกในครั้งต่อๆไป ก็ทำได้โดย ให้เลือกไดร์ฟปลายทาง เป็น Image Recorder จากนั้นคลิกปุ่ม "เบิร์น" เพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดลอกจากแผ่นซีดีต้นฉบับมาเป็น อิมเมจไฟล์



เมื่อคลิกที่ปุ่ม "เบิร์น" แล้วจะเข้าสู่หน้าต่าง การคัดลอกแผ่นซีดี และการ "บันทึกอิมเมจไฟล์" ให้ทำการ เลือกโลเคชั่น - ตั้งชื่ออิมเมจไฟล์ที่ต้องการ - และบันทึก จากนั้นก็จะเข้าสู่กระบวนการคัดลอก เป็นอันเสร็จสิ้น




การเบิร์นอิมเมจไปยังดิสก

หลังจากสร้างอิมเมจไฟล์เอาไว้แล้ว หากต้องการจะทำการคัดลอกลงแผ่นซีดี ให้เลือกที่คำสั่งนี้

แต่.. คำสั่งนี้จะรองรับเฉพาะ อิมเมจไฟล์ที่สร้างจาก Nero เท่านั้น จะไม่รองรับอิมเมจไฟล์ที่สร้างจากโปรแกรมอื่นๆ



เมื่อเลือกคำสั่งนี้ขึ้นมา โปรแกรมจะให้เราค้นหา อิมเมจไฟล์เพื่อนำมาเป็นไดร์ฟต้นทาง ให้การเลือกไฟล์ที่ต้องการ แล้ว "เปิด"



จากนั้น ให้เลือก ไดร์ฟปลายทาง - ความเร็วในการเขียน - จำนวนสำเนา – ต่อไป เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการคัดลอกลงแผ่นซีดี



เป็นอันสิ้นสุดขั้นตอนการทำงานครับ


เเหล่งที่มา
http://www.justusers.net/articles/multimedia/nerocopy/nerocopy.htm